วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

               การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่งสินค้าเกษตรไปขายให้ญี่ปุ่นและสั่งเครื่องมือเครื่องจักรจาก ญี่ปุ่นเข้าประเทศ

แหล่งที่มา http://www.oocities.com/econ_hong4/econAA.htm4/econAA.htm
        
              การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing) ประกอบด้วย การค้นหา (Finding) และการสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก (Terpstra and  Sarathy. 2000 : 12)
            การตลาดระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างแท้จริง คำว่า ตลาดโลก (Global marketing) เป็นตัวอธิบายว่า ทั่วโลกสามารถรวมตลาดทั่วโลกเป็นตลาดเดียวและถือว่าตลาดในแต่ละประเทศเป็นตลาดย่อย (Submarket)

สรุป
       การตลาดเป็นสิ่งที่ทำเพื่อให้เกิดการซื้อขาย เน้นสร้างความพึงพอใจให้กับตลาดเพื่อให้เกิดการซื้อขาย ขณะที่การค้าระหว่างประเทศนั้นได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นแล้วประกอบด้วยผู้ซื้อและขาย การค้าเน้นที่คุณภาพของสินค้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น