วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SWOTสินค้าเกษตรไทยในประเทศญี่ปุ่น

จุดแข็ง
1.             สินค้ามีคุณภาพดีได้มาตรฐาน
2.             ต้นทุนแรงงานต่ำ
3.             สินค้าเกษตรจากประเทศไทยมีชื่อเสียง
4.             สินค้ามีราคาถูก
จุดอ่อน
1.             เป็นสินค้าที่สามารถเน่าเสียได้
2.             ขาดเทคโนโลยีสมัยใหม่
3.             ขาดการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์
โอกาส
1.             ภาครัฐสนับสนุนเกษตรกรและส่งเสริมสินค้าเกษตรไทย
2.             รัฐบาลยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตร
3.             ประเทศไทยมีความอุดมสมบูรณ์ด้านทรัพยากร
4.             สินค้าเกษตรของไทยมีข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น
อุปสรรค
1.             ความแปรปรวนของสภาพอากาศในปัจจุบัน
2.             ญี่ปุ่นมีการตรวจสอบสินค้านำเข้าเข้มงวดมาก
3.             ตลาดมีการแข่งขันรุนแรง
4.             สภาวะการเมืองของประเทศไทยไม่มีเสถียรภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักธุรกิจจีนสนใจตั้งตลาดกลาง3แห่ง ส่งสินค้าเกษตรไทยทั่วจีน

นักธุรกิจจีน สนใจลงทุนสร้างตลาดกลางสินค้าเกษตรไทย 3แห่ง พร้อมระบบซื้อขายล่วงหน้า ผลักดันส่งออกอาหารทะเล ผัก และผลไม้ของไทยให้แพร่หลายในจีน
               โดยคณะนักธุรกิจจากนครกวางโจว สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แจ้งความจำนงดังกล่าวให้นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย
               นาย Li Yong Xin กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตงเจียง กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า วัตถุประสงค์ของการนำคณะธุรกิจจีนมาเยือนไทยในครั้งนี้เป็นการสานต่อความร่วมมือด้านการค้า สืบเนื่องจากนายกรัฐมนตรีนำคณะเดินทางเยือนจีนครั้งที่ผ่านมา
               โดยมีโครงการสำคัญที่จะสร้างตลาดกลางสินค้าเกษตรไทย พร้อมระบบการซื้อขายล่วงหน้า ณ นครกวางโจว ซึ่งถือเป็น showroom แห่งแรกของสินค้าเกษตรไทยในประเทศจีน และจะได้ขยายแห่งที่สองไปยังนครเซี่ยงไฮ้ และแห่งสามที่เมืองเทียงจิง หรือเมืองชิงตู ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่กำลังเติบโต
               ตลาดกลางสินค้าเกษตรไทยจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองประเทศ คือ สนับสนุนเกษตรกรและส่งเสริมสินค้าเกษตรไทย ขณะเดียวกันผู้บริโภคจีนก็สามารถบริโภคสินค้าคุณภาพดีจากไทยได้ ซึ่งในแต่ละปีข้าวหอมมะลิและอาหารทะเลสด ผักสดผลไม้ มีมูลค่าจำหน่ายสูงถึง 300 ล้านหยวน ซึ่งนักธุรกิจจีนพร้อมที่จะลงทุนและให้การสนับสนุนตลาดกลางสินค้าเกษตรไทย เพราะเชื่อว่ามีโอกาสและอนาคตที่สดใส
              นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การส่งเสริมสินค้าเกษตรไทยถือเป็นนโยบายพิเศษที่รัฐบาลให้ความสำคัญ เพราะนอกจากเกษตรกรจะเป็นกำลังหลักของประเทศแล้ว รัฐบาลยังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าเกษตร ซึ่งเท่ากับเป็นการสนองงานและพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ที่ทรงให้ความสนพระทัยในการพัฒนาคุณภาพสินค้าไทย ขอให้มั่นใจได้ว่ารัฐบาลจะให้การดูแลอย่างดีที่สุด

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลประเทศญี่ปุ่น

                การปกครองท้องถิ่น ญี่ปุ่นแบ่งเขตการปกครองท้องถิ่นออกเป็น 47 จังหวัด (Prefecture) ซึ่งรวมกรุงโตเกียว (Tokyo Metropolis) ด้วย การปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดแยกออกเป็น นคร เมือง และหมู่บ้าน ยกเว้นกรุงโตเกียวที่มีเขตการปกครอง เฉพาะในส่วนใจกลาง 23 เขต นอกเหนือไปจากเขตชานกรุง ซึ่งประกอบด้วย 27 นคร 5 เมือง และ 8 หมู่บ้าน รัฐบาลญี่ปุ่นได้พยายามกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่น โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีของนครขนาดใหญ่ ของเมืองและของหมู่บ้านตลอดจนสมาชิกสภาส่วนท้องถิ่นทุกระดับมาจากการเลือกตั้ง

แหล่งที่มา http://www.mfa.go.th/web/479.php?id=133

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ

               การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่งสินค้าเกษตรไปขายให้ญี่ปุ่นและสั่งเครื่องมือเครื่องจักรจาก ญี่ปุ่นเข้าประเทศ

แหล่งที่มา http://www.oocities.com/econ_hong4/econAA.htm4/econAA.htm
        
              การตลาดระหว่างประเทศ (International marketing) ประกอบด้วย การค้นหา (Finding) และการสนองตอบความต้องการ (Satisfying) ของลูกค้าทั่วโลกโดยให้เหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งคู่แข่งขันภายในประเทศและคู่แข่งขันจากต่างประเทศ ตลอดจนการประสานงานกิจกรรมการตลาดร่วมกันภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมระดับโลก (Terpstra and  Sarathy. 2000 : 12)
            การตลาดระหว่างประเทศเป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดความเข้าใจได้อย่างแท้จริง คำว่า ตลาดโลก (Global marketing) เป็นตัวอธิบายว่า ทั่วโลกสามารถรวมตลาดทั่วโลกเป็นตลาดเดียวและถือว่าตลาดในแต่ละประเทศเป็นตลาดย่อย (Submarket)

สรุป
       การตลาดเป็นสิ่งที่ทำเพื่อให้เกิดการซื้อขาย เน้นสร้างความพึงพอใจให้กับตลาดเพื่อให้เกิดการซื้อขาย ขณะที่การค้าระหว่างประเทศนั้นได้มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นแล้วประกอบด้วยผู้ซื้อและขาย การค้าเน้นที่คุณภาพของสินค้า

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการขาย

     ความหมายของกระบวนการขาย
     
กระบวนการขาย (The Selling Process) หมายถึง ขั้นตอนของเทคนิตการปฏิบัติการขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้มุ่งหวัง โดยทั่วไป
ขั้นตอนของกระบวนการขาย (Step of Selling Process) ที่สมบูรณ์ต้องเริ่มต้นตั้งแต่การแสวงหารายชื่อผู้ที่คิดว่าจะซื้อหรือผู้ มุ่งหวัง หรือลูกค้า
ในอนาคต จากนั้นจึงดำเนินการขายตามขั้นตอนเพื่อกระตุ้นและเร้าให้ ผู้มุ่งหวังเกิดความสนใจและอยากได้สินค้า จนตัดสินใจซื้อสินค้าที่
เสนอขายในที่สุด จึงถือว่ากระบวนการขายเป็นขั้นตอนในการเปลี่ยนผู้มุ่งหวังให้เป็นผู้ซื้อในที่สุด


ขั้นตอนต่าง ๆ ในกระบวนการขาย

       1) ขั้นการแสวงหาลูกค้า
การแสวงหาลูกค้า (Prospecting) เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญของกระบวนการขาย ซึ่งอาจเป็นเอกชนหรือสถาบันใดก็ได้ ที่สามารถจะ
ได้รับประโยชน์จากสินค้าและมีความสามารถที่จะซื้อสินค้านั้นได้
ทุกคนล้วนเป็นผู้ที่น่าจะซื้อสินค้าหรือบริการ แต่บุคคลหรือสถาบันใดที่พนักงานขายได้คัดเลือกแล้วว่ามีคุณสมบัติตามเกณฑ์และมี
ความต้องการหรือความปรารถนา (Desiring) ในสินค้าและบริการ ซึ่งจะเรียกว่า "ผู้มุ่งหวัง" (Prospect) และหลังจากที่ผู้มุ่งหวังได้ซื้อแล้วจะเรียกว่า"ลูกค้า" (Customer)
    2) ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนเข้าพบ
    3) ขั้นการเข้าพบ
ในขั้นนี้พนักงานขายกับผู้มุ่งหวังจะได้พบกัน หากพนักงานขาย มีแบบ แผนที่ ดีในการเข้าพบ ย่อมสร้างความประทับใจและเป็น โอกาสที่จะช่วยให้การสนทนาหรือการสัมภาษณ์ดำเนินไปสู่ความ ป็นมิตร ดังนั้นการเข้าพบจึงมีความสำคัญที่ไม่อาจพลาดได้ จึง จำเป็นอย่างยิ่งที่พนักงานขายต้องดำเนินการขายอย่างถูกต้อง ตั้งแต่เข้าพบผู้มุ่งหวัง จนถึงขั้น ปิดการขาย


      4) ขั้นเสนอขาย
ขั้นเสนอขายเป็นการเร้าใจให้ผู้มุ่งหวังเกิดความต้องการที่จะได้ สินค้า หรือบริการที่พนักงานขายเสนอ ซึ่งเมื่อผู้มุ่งหวังเกิดความ ต้องการซื้อแล้ว พนักงานขายต้องทำให้มั่นใจว่าข้อเสนอของ พนักงานมีความ เหมาะสมกับความต้องการและสามารถแก้ปัญหา ให้กับผู้มุ่งหวังได้ดังนั้นหน้าที่ของพนักงานขาย คือการแสดงให้ ผู้มุ่งหวังหรือลูกค้าได้ เห็นความจำเป็นและประโยชน์ของสินค้า หรือบริการนั้น
     5)
ขั้นการจัดการกับข้อโต้แย้ง
ข้อโต้แย้งหรือข้อสงสัยเกิดขึ้นได้ในการขายทุกชนิด สำหรับ พนักงาน ขายที่ไม่มีประสบการณ์มักเกิดความกลัวว่าจะไม่สามารถตอบข้อข้องใจของผู้มุ่งหวังได้และกลัวจะเสียการขายไป ข้อโต้แย้ง มีทั้ง เป็นจริง หรือเพียงเพื่อแก้ตัว ดังนั้นพนักงานขายต้องเรียนรู้ วิธีตอบโต้ความกลัวและความกังวลจะได้หายไป




  ที่มา          http://lpn.nfe.go.th/web_lpn3/lesson6_4.htm